วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิธีสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่อง

..........โลกเราในยุคปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปมากมนุษย์ก็มีการพัฒนาในทุกๆด้านถ้ากล่าวถึงการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยแล้วแต่ละท่านก็จะมีวิธีการทีดีของตนเองถ้าเราดูแล้วก็จะไม่ต่างกันเช่น
..........1. เทคนิคและวิธีการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยของประภาพรรณ มั่นสวัสดิ์ (2548: 21) มีดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัย
2. ศึกษาเนื้อหาและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
3. วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของเนื้อหาและแบ่งเนื้อหาเป็นฉบับย่อยๆ
4. สร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร
5. สร้างแบบทดสอบเพื่อสำรวจความพร่อง
6. ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
7. นำไปทดลองเพื่อหาจุดบกพร่องของนักเรียน
8. นำผลที่ได้มาปรับปรุงเพื่อสร้างแบบทดสอบวินิจฉัย โดยใช้ผลที่ได้จากการสำรวจมาสร้างเป็นตัวลวง
9. สร้างแบบทดสอบวินิจฉัย
10. ทดสอบครั้งที่ 1 เพื่อวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ คัดเลือกและปรับปรุงข้อสอบ
11. นำไปทดสอบครั้งที่ 2 เพื่อหาคุณภาพของแบบทดสอบ
12. จัดทำคู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัย
13. จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม
..........2.เทคนิคและวิธีการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยของ สุพรรณี ภิรมย์ภักดี (2541:14) มีดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายและวางแผนในการดำเนินการสอบ
2. วิเคราะห์ทักษะและเนื้อหาออกเป็นองค์ประกอบย่อย ๆ
3. เขียนคำถามตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้
4. สร้างแบบทดสอบเพื่อสำรวจหาข้อบกพร่องที่ไม่สัมฤทธิ์ผลตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมนั้น
5. สร้างแบบทดสอบวินิจฉัย ใช้คำตอบผิดที่วิเคราะห์แล้วเป็นตัวลวง
6. นำแบบทดสอบไปทดลองใช้และพัฒนาให้มีคุณภาพ
.........3. ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยของบุญชม ศรีสะอาด (2535: 29) มีดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสร้างแบบทดสอบ
2. ศึกษาทฤษฎี วิธีการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยและวิธีเขียนข้อสอบ
3. วิเคราะห์เนื้อหา จุดมุ่งหมายของหลักสูตร จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
4. กำหนดจุดประสงค์องค์ประกอบหรือทักษะย่อยและแบบทดสอบย่อยที่จะสอบเพื่อวินิจฉัย
5. ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเหมาะสม ในการกำหนดรายละเอียดตามขั้นตอนที่ 4
6. เขียนคำถามเพื่อสำรวจเป็นแบบเติมคำตอบ
7. นำแบบทดสอบเพื่อสำรวจไปทดสอบ
8. วิเคราะห์ค่าความยากรายข้อ
9. สร้างแบบทดสอบวินิจฉัยโดยใช้ผลจากขั้นที่ 8 คัดเลือก ปรับปรุงข้อสอบและสร้างตัวลวงจากคำตอบผิด
10. ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและกำหนดจุดตัด
11. ทดสอบครั้งที่ 1
12. วิเคราะห์หาค่าความยาก อำนาจจำแนกและปรับปรุงข้อสอบ
13. ทดสอบครั้งที่ 2
14. วิเคราะห์หาคุณภาพของข้อสอบรายข้อและของแบบทดสอบ
15. จัดทำคู่มือการใช้แบบทดสอบและจัดพิมพ์แบบทดสอบเป็นรูปเล่ม
..........4.ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยของสุชาติ สิริมีนนันท์ (2542:16) มีดังนี้
1. ตั้งจุดหมายและวางแผนในการดำเนินการสร้างแบบทดสอบ
2. วิเคราะห์ทักษะหรือเนื้อหาออกเป็นองค์ประกอบย่อย ๆ ให้ชัดเจน
3. สร้างแบบทดสอบสำรวจ โดยเขียนข้อคำถามตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้
4. นำไปสอบและวิเคราะห์คำตอบเพื่อหาสาเหตุของการไม่สัมฤทธิ์ผลตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
5. สร้างแบบทดสอบวินิจฉัย โดยใช้คำตอบที่ผิดที่วิเคราะห์แล้วเป็นตัวลวง
6. นำแบบทดสอบไปใช้และพัฒนาแบบทดสอบเขียนคู่มือการใช้แบบทดสอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น