วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิธีสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่อง

..........โลกเราในยุคปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปมากมนุษย์ก็มีการพัฒนาในทุกๆด้านถ้ากล่าวถึงการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยแล้วแต่ละท่านก็จะมีวิธีการทีดีของตนเองถ้าเราดูแล้วก็จะไม่ต่างกันเช่น
..........1. เทคนิคและวิธีการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยของประภาพรรณ มั่นสวัสดิ์ (2548: 21) มีดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัย
2. ศึกษาเนื้อหาและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
3. วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของเนื้อหาและแบ่งเนื้อหาเป็นฉบับย่อยๆ
4. สร้างตารางวิเคราะห์หลักสูตร
5. สร้างแบบทดสอบเพื่อสำรวจความพร่อง
6. ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
7. นำไปทดลองเพื่อหาจุดบกพร่องของนักเรียน
8. นำผลที่ได้มาปรับปรุงเพื่อสร้างแบบทดสอบวินิจฉัย โดยใช้ผลที่ได้จากการสำรวจมาสร้างเป็นตัวลวง
9. สร้างแบบทดสอบวินิจฉัย
10. ทดสอบครั้งที่ 1 เพื่อวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ คัดเลือกและปรับปรุงข้อสอบ
11. นำไปทดสอบครั้งที่ 2 เพื่อหาคุณภาพของแบบทดสอบ
12. จัดทำคู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัย
13. จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม
..........2.เทคนิคและวิธีการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยของ สุพรรณี ภิรมย์ภักดี (2541:14) มีดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายและวางแผนในการดำเนินการสอบ
2. วิเคราะห์ทักษะและเนื้อหาออกเป็นองค์ประกอบย่อย ๆ
3. เขียนคำถามตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้
4. สร้างแบบทดสอบเพื่อสำรวจหาข้อบกพร่องที่ไม่สัมฤทธิ์ผลตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมนั้น
5. สร้างแบบทดสอบวินิจฉัย ใช้คำตอบผิดที่วิเคราะห์แล้วเป็นตัวลวง
6. นำแบบทดสอบไปทดลองใช้และพัฒนาให้มีคุณภาพ
.........3. ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยของบุญชม ศรีสะอาด (2535: 29) มีดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายในการสร้างแบบทดสอบ
2. ศึกษาทฤษฎี วิธีการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยและวิธีเขียนข้อสอบ
3. วิเคราะห์เนื้อหา จุดมุ่งหมายของหลักสูตร จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
4. กำหนดจุดประสงค์องค์ประกอบหรือทักษะย่อยและแบบทดสอบย่อยที่จะสอบเพื่อวินิจฉัย
5. ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเหมาะสม ในการกำหนดรายละเอียดตามขั้นตอนที่ 4
6. เขียนคำถามเพื่อสำรวจเป็นแบบเติมคำตอบ
7. นำแบบทดสอบเพื่อสำรวจไปทดสอบ
8. วิเคราะห์ค่าความยากรายข้อ
9. สร้างแบบทดสอบวินิจฉัยโดยใช้ผลจากขั้นที่ 8 คัดเลือก ปรับปรุงข้อสอบและสร้างตัวลวงจากคำตอบผิด
10. ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและกำหนดจุดตัด
11. ทดสอบครั้งที่ 1
12. วิเคราะห์หาค่าความยาก อำนาจจำแนกและปรับปรุงข้อสอบ
13. ทดสอบครั้งที่ 2
14. วิเคราะห์หาคุณภาพของข้อสอบรายข้อและของแบบทดสอบ
15. จัดทำคู่มือการใช้แบบทดสอบและจัดพิมพ์แบบทดสอบเป็นรูปเล่ม
..........4.ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยของสุชาติ สิริมีนนันท์ (2542:16) มีดังนี้
1. ตั้งจุดหมายและวางแผนในการดำเนินการสร้างแบบทดสอบ
2. วิเคราะห์ทักษะหรือเนื้อหาออกเป็นองค์ประกอบย่อย ๆ ให้ชัดเจน
3. สร้างแบบทดสอบสำรวจ โดยเขียนข้อคำถามตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้
4. นำไปสอบและวิเคราะห์คำตอบเพื่อหาสาเหตุของการไม่สัมฤทธิ์ผลตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
5. สร้างแบบทดสอบวินิจฉัย โดยใช้คำตอบที่ผิดที่วิเคราะห์แล้วเป็นตัวลวง
6. นำแบบทดสอบไปใช้และพัฒนาแบบทดสอบเขียนคู่มือการใช้แบบทดสอบ

ประโยชน์ในการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่อง

....................ในปัจจุบันนี้ในการสร้างแบบทดสอบมีความสำคัญมากเพราะแบบทดสอบนั้นต้องมีคุณภาพและมีประโยชน์เพราะจะนำไปสู่การวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพด้วย เราจึงเห็นว่ามีหลายท่านที่ให้ความสนใจและให้ความสำคัญในเรื่องของแบบทดสอบวินิจฉัยมากจึงพอสรุปประโยชน์ของแบบทดสอบวินิจฉัยดังนี้
.........ประโยชน์ของแบบทดสอบวินิจฉัยว่ามีประโยชน์ต่อนักเรียน ครู ผู้สอน และผู้บริหารดังนี้
1. ช่วยให้นักเรียนรู้ข้อบกพร่องของตนเองโดยดูคะแนนผลการสอบแต่ละส่วนว่ามีส่วนไหนบ้างที่ได้คะแนนน้อยกว่าปกติ หรือต่ำกว่าคะแนนเกณฑ์เมื่อรู้ข้อบกพร่องหรือจุดด้อยแล้ว ก็จะได้ปรับปรุงหรือฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจหรือฝึกทักษะในเรื่องนั้น ๆ เป็นการเฉพาะเป็นการแก้ปัญหาในส่วนของตัวนักเรียนบางคนอาจมีข้อบกพร่องเพียงจุดเดียว ด้านเดียว แต่บางคนอาจบกพร่อง หลาย ๆ จุด หลาย ๆ ด้าน ก็ได้ไม้เท่ากัน
2. ครูผู้สอนหรือครูที่ปรึกษาสามารถช่วยเหลือนักเรียนได้ตรงจุด ทําให้ปัญหาของนักเรียนหมดไปโดยเร็วเป็นการประหยัดเวลา นอกจากนั้นยังต้องตระหนักว่าวิธีการสอนที่เคยใช้อยู่ก่อนอาจไม่เหมาะสมที่จะนํามาใช้สอนเสริม ควรแสวงหาหรือเลือกวิธีสอนใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจากวิธีการสอนแบบเดิมที่เคยใช้สอนเรื่องนั้น ๆ มาก่อนแล้ว

3. ผู้บริหารโรงเรียนสามารถจัดการ สนับสนุนและอํานวยความสะดวกให้แก่ครูผู้สอนหรือครูที่ปรึกษาตลอดทั้งตัวนักเรียนเองได้ตรงประเด็นหรือตรงความต้องการ ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของหลักสูตร โชติ เพชรชื่น (2544: 10-11)
...........ประโยชน์ของแบบทดสอบวินิจฉัยว่ามีประโยชน์ต่อนักเรียน ครู ผู้สอน และผู้บริหารดังนี้
1.แบบทดสอบวินิจฉัยเป็นแบบทดสอบที่ครูใช้ในการค้นหาจุดบกพร่องการเรียนของนักเรียนในแต่ละเนื้อหาย่อย ๆ ว่านักเรียนไม่เข้าใจในเนื้อหาการเรียนในแต่ละตอน
2. เป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไข ถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เกิดจากความบกพร่องของตัวครูผู้สอน
3. ผู้เรียนสามารถประเมินตนเองได้ถึงจุดบกพร่องในการเข้าใจเนื้อหาเพื่อทําความเข้าใจในเนื้อหาอีกครั้ง และทําให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียน เตรียมพร้อมในการเรียนอยู่เสมอ

วิยะดา ซ่อนขำ (2551:30-31)
.........จากการที่ได้ศึกษาข้อมูลจากผลงานวิจัยของผู้อื่นก็พบว่าประโยชน์ของแบบทดสอบวินิจฉัยได้ดังนี้
1. นักเรียนและครูผู้สอนสามารถทราบจุดบกพร่องในการเรียนในแต่ละเนื้อหา
2. เป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไข ถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เกิดจากความบกพร่องของตัวครูผู้สอน
3. ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน สามารถใช้เป็นข้อมูลในการประเมินตนเอง ในการบริหารจัดการ การเรียนการสอนเพื่อเป็นการพัฒนาตนเอง

ลักษณะและความสำคัญของแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่อง

จากการที่ได้ศึกษามาทุกท่านก็มีความเข้าใจถึงลักษณะที่สำคัญของแบบทดสอบวินิจฉัยแต่ก็มีอีกหลายท่านที่ได้สรุปลักษณะที่สำคัญของแบบทดสอบวินิจฉัยไว้เช่นกัน
..........ลักษณะที่สำคัญของแบบทดสอบวินิจฉัย มีดังนี้
1. เป็นแบบทดสอบที่ได้จากการวิเคราะห์เนื้อหาอย่างละเอียดและมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาสูง
2. แบบทดสอบแยกออกเป็นฉบับย่อย ๆ หลายฉบับ โดยแต่ละฉบับวัดเนื้อหาย่อยอย่างเดียวกัน
3. ข้อสอบแต่ละข้อสาสมรถระบุสาเหตุของข้อบกพร่องของการตอบผิดได้
4. ข้อสอบแต่ละฉบับควรมีมากข้อและมีความยากตั้งแต่ .65 ขึ้นไป
5. เกณฑ์แสดงความรอบรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควรใช้เกณฑ์ 3 ใน 4 (75% )เพื่อแสดงว่าเด็กมีความรู้ในเรื่องนั้นจริง มิใช่ทำผิดเพราะความเลินเล่อ
6. เกณฑ์ปกติ ( norm ) ไม่มีความสำคัญ
7. ควรเป็นข้อสอบที่ไม่จำกัดเวลาในการสอบ( power test)
8. ใช้สอบเมื่อเรียนแต่ละบทเสร็จสิ้นแล้ว หรือใช้สอบเมื่อเรียนจบเนื้อหาย่อยเพื่อทดสอบความเข้าใจการตรวจให้คะแนนสามารถประเมินผลได้ทั้งแบบอิงเกณฑ์และอิงกลุ่ม

ธีรารัตน์ นาชัยฤทธิ์ (2550 : 21)
..........ลักษณะที่สำคัญของแบบทดสอบวินิจฉัย มีดังนี้
1. วัดได้ทั้งแบบอิงเกณฑ์ และแบบอิงกลุ่ม
2. เกณฑ์ปกติ (Norm) ไม่มีความสำคัญ
3. เน้นความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) เป็นหลัก
4. เป็นข้อสอบที่ง่ายและมีข้อสอบจำนวนมากข้อ
5. แยกเป็นแบบทดสอบย่อย ๆ หลายฉบับ เพื่อวัดทักษะเฉพาะอย่าง
6. ควรเป็นข้อสอบที่ไม่จำกัดเวลาในการตอบ (Power test )
7. ใช้กับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำและชี้ให้เห็นจุดบกพร่องของนักเรียนเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน

สุชาติ สิริมีนนันท์ (2542:12)
..........ลักษณะที่สำคัญของแบบทดสอบวินิจฉัย มีดังนี้
1. เน้นความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)
2. สร้างจากหลักรากฐานการวิเคราะห์ทักษะและข้อบกพร่องที่มักเกิดขึ้นกับนักเรียน
3. ข้อสอบแต่ละข้อได้มาจากการรวบรวมและวิเคราะห์จากคำตอบที่มีปัญหาของนักเรียนส่วนใหญ่ จึงสามารถบ่งบอกสาเหตุของการตอบผิดได้
4. แยกเป็นแบบทดสอบย่อย ๆ หลายฉบับ แต่ละฉบับวัดทักษะเฉพาะอย่าง
5. ในแต่ละฉบับย่อยจะมีข้อสอบมากข้อซึ่งวัดในทักษะเดียวกัน เพื่อให้สามารถจำแนกนักเรียนที่มีความบกพร่องได้ชัดเจน
6. เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างง่าย มีค่าความยากตั้งแต่ .65 ขึ้นไป มักใช้กับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
7. ใช้ทดสอบระหว่างการเรียนการสอน
8. มีลักษณะเป็นแบบทดสอบระดมพลัง( Power Test )
9. การให้คะแนนแยกเป็นด้าน ๆ เพื่อค้นหาข้อบกพร่อง และไม่สนใจคะแนนรวมของนักเรียนแต่ละคน
10. ไม่มีการสร้างเกณฑ์ปกติ เพราะจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาความบกพร่องในการเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคล

สุพรรณี ภิรมย์ภักดี (2541:11)

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความหมายของแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่อง


ความหมายของแบบทดสอบวินิจฉัย
..........แบบทดสอบ หมายถึง แบบข้อสอบหรือคำถามเพื่อวัดความรู้ความสามารถ(http://dictionary.kapook.com/)

......... แบบทดสอบ : เครื่องมือคู่ชีพของครู
.........สารปฎิรูป ปีที่ 9 ฉบับที่ 100 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550เราทุกคนคงจะมีความคุ้นเคยกับแบบทดสอบมามากพอสมควร เรียกได้ว่าผ่านสนามสอบมาเยอะ มีผู้กล่าวไว้ว่าแบบทดสอบเป็นเครื่องมือที่คุณครูคุ้นเคยมากที่สุด เป็นเครื่องมือที่ครูทุกคนต้องใช้เพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับมาบอกครูเองว่านักเรียนเข้าใจ ทำได้ในสิ่งที่ครูสอนหรือไม่ ความจริงที่ครู (ดี) ติดตามด้วยใจที่จดจ่อ คือผลการเรียนรู้ ซึ่งวัดได้จากการทดสอบ อาจจะอยู่ในรูปของคะแนน หรือระดับคุณภาพของการตอบ เราเรียกเป็นภาษาวิจัยว่าเป็นข้อมูล เป็นข้อมูลของตัวแปรที่ชื่อว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยธรรมชาตินักเรียนห้องหนึ่งมีจำนวนมากน้อยแตกต่างกันไป ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนจะมีความแตกต่างกัน บางคนตอบถูกมากจะได้คะแนนมาก บางคนตอบถูกน้อยจะได้คะแนนน้อยตามกฎเกณฑ์การให้คะแนน ผลการตอบของนักเรียนจะสะท้อนให้ความหมายว่านักเรียนประสบความสำเร็จเพียงไร คะแนนจะสะท้อนฝีมือครูเช่นกัน ถ้านักเรียนส่วนมากได้คะแนนสูง แสดงว่าครูสอนเก่ง สอนนักเรียนให้เก่งได้ ตรงกันข้าม ถ้านักเรียนส่วนมากทำไม่ได้หรือได้คะแนนน้อย ก็สะท้อนว่าครูสอนไม่เก่ง แต่ทั้งนี้ การมองภาพสะท้อนต้องมองด้วยความเข้าใจ โดยต้องพิจารณาสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะคุณภาพเครื่องมือ (แบบทดสอบ)กัน คำที่บ่งชี้

........คุณภาพของแบบทดสอบที่สำคัญมากที่สุด คือ ความตรง (Validity) และความเที่ยง (Reliability)
........ความตรง(Validity)ของแบบทดสอบ ความหมายว่าแบบทดสอบนั้นได้รับการออกแบบและสร้างเพื่อวัดคุณลักษณะที่ต้องการได้
........ความเที่ยง (Reliability) ของแบบทดสอบ เป็นคุณสมบัติของเครื่องมือที่จะให้ผลการวัดความสามารถของบุคคลคงเส้นคงวา หมายความว่า ปริมาณที่แสดงความสามารถของบุคคลที่อ่านได้จากเครื่องมือ ไม่ว่าจะวัดกี่ครั้งก็มีความคงที่ เสมือนการอ่านค่าน้ำหนักตัวจากเครื่องชั่งที่มีคุณภาพ สำหรับแบบทดสอบ ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเที่ยงมีหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ การใช้ภาษาที่ถูกต้องชัดเจน งานพิมพ์ประณีต เฉลยถูกต้อง และมีเกณฑ์การให้คะแนนที่เหมาะสม งานขั้นนี้เป็นขั้นตอนการเขียนข้อสอบ การตรวจสอบด้วยการใช้เหตุผลและการจัดพิมพ์ที่ต้องทำอย่างประณีต

.........เรามารู้จักความหมายเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น

.............แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นมาโดยการวิเคราะห์เนื้อหาในเรื่องนั้น ๆ อย่างละเอียดและมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาสูง ในชุดแบบทดสอบจะมีข้อสอบชุดย่อย ๆ จำแนกจากองค์ประกอบของเนื้อหานั้นและใช้ทดสอบหลังจากที่มีการเรียนการสอนแล้ว ซึ่งแบบทดสอบวินิจฉัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ค้นหาข้อบกพร่องทางการเรียนของนักเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการหาวิธีช่วยเหลือนักเรียนให้สามารถเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น อาจใช้วิธีสอนซ่อมเสริม นอกจากนั้นผลการสอบยังใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงวิธีการสอนของครูได้อีกด้วยธีรารัตน์ นาชัยฤทธิ์(2550:15)
............แบบทดสอบที่สร้างขึ้นและนำไปใช้ทดสอบหลังจากการสอนสิ้นสุดลงเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนแต่ละคนในการเรียนเรื่องหนึ่ง ๆ ทั้งนี้เพื่อ จะได้จัดกิจกรรมทางการเรียนการสอนและสอนซ่อมเสริมได้ตรงจุดที่นักเรียนมีความบกพร่องและเป็นแนวทางในการปรับปรุงการสอนของครูอีกด้วยประภาพรรณ มั่นสวัสดิ์ (2548:10)
..........แบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่อง เป็นแบบทดสอบที่สร้างขึ้นเพื่อมุ่งค้นหาข้อบกพร่องของผู้เรียนแต่ละคนว่ามีจุดอ่อนในด้านใดบ้างศิริลักษณ์ แสนทวีสุข (2545:9)
..........แบบทดสอบวินิจฉัยเป็นแบบทดสอบที่ใช้สำหรับค้นหาข้อบกพร่อง รวมทั้งสาเหตุของความบกพร่องของนักเรียนเป็นรายบุคคลในการเรียนวิชาต่าง ๆ เพื่อใช่เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขและสอนซ่อมเสริมนักเรียนได้ตรงจุด สุชาติ สิริมีนนันท์ (2542:9)
.........จากความหมายทั้งหมดที่กล่าวมาสรุปความหมายของแบบทดสอบวินิจฉัยได้ว่าแบบทดสอบวินิจฉัยหมายถึง แบบทดสอบที่สร้างขึ้นเพื่อมุ่งค้นหาข้อบกพร่องของผู้เรียนว่ามีจุดอ่อนด้านใดบ้างและใช้ข้อมูลในการแก้ไขและปรับปรุงการเรียนการสอน

แบบทดสอบวินิจฉัย

..............แบบทดสอบวินิจฉัย จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในการค้นหาจุดบกพร่อง หรือที่เป็นปัญหา ของนักเรียนแต่ละคน แบบทดสอบวินิจฉัยจะสามารถวิเคราะห์จุบกพร่องในการเรียนของนักเรียนได้
อย่างละเอียดมากกว่าแบบสอบชนิดอื่น ช่วยให้ครูผู้สอนทราบองค์ประกอบของเนื้อหาวิชา ตลอดจน
ข้อบกพร่องของกระบวนการนั้น ประหยัดเวลาและแรงงานครู จึงทำให้ครูมีเวลาที่จะเอาใจใส่ดูแล
นักเรียนแต่ละคนได้มากขึ้น
.............จากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้มีผู้ที่ให้ความสนใจที่จะสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยมากขึ้นการที่จะสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยได้นั้นผู้สร้างจะต้องรู้จักเป็นอยางดีว่าการวินิจฉัยข้อบกพร่องนั้นคืออะไรมีลักษณะเป็นอย่างไรข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าประการแรกที่สำคัญคือความหมาย

.................................................ความหมายของการวินิจฉัยข้อบกพร่อง
..............การวินิจฉัย เป็นวิธีการหนึ่งที่ครูดำเนินการเพื่อทดสอบนักเรียนว่า นักเรียนมีข้อบกพร่องในการเรียนเรื่องนั้น ๆ เกี่ยวกับรายละเอียดย่อย ๆ ใดบ้าง เพื่อนำผลทดสอบนั้นมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องทั้งตัวนักเรียนเอง ครูผู้สอนและวิธีการสอน รวมทั้งนำผลการสอบมาใช้ในการปรับปรุงข้อสอบด้วยเช่นกัน ธีรารัตน์ นาชัยฤทธิ์ (2550 :12)
..............การวินิจฉัยข้อบกพร่อง หมายถึง การค้นหาสาเหตุของข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนทางการเรียนของผู้เรียนเพื่อให้ผู้สอนทำการแก้ไขสาเหตุของข้อผิดพลาดหรือจุดอ่อนทางการเรียนที่พบต่อไป ศิริลักษณ์ แสนทวีสุข (2545:6)
..............จากที่กล่าวมาข้าพเจ้าสรุปความหมายของการวินิจฉัยข้อบกพร่องได้ว่า การวินิจฉัยข้อบกพร่อง หมายถึงการค้นหาสาเหตุของข้อผิดพลาดของนักเรียนที่ทำให้ครูผู้สอนสามารถนำข้อผิดพลาดหรือจุดบกพร่องนั้นมาเป็นแนวทางในการแก้ไขจุดบกพร่องทั้งตัวนักเรียนและตัวครูผู้สอนต่อไป
ตัวอย่างแบบทดสอบวินิจฉัย คลิกที่นี่