วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ลักษณะและความสำคัญของแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่อง

จากการที่ได้ศึกษามาทุกท่านก็มีความเข้าใจถึงลักษณะที่สำคัญของแบบทดสอบวินิจฉัยแต่ก็มีอีกหลายท่านที่ได้สรุปลักษณะที่สำคัญของแบบทดสอบวินิจฉัยไว้เช่นกัน
..........ลักษณะที่สำคัญของแบบทดสอบวินิจฉัย มีดังนี้
1. เป็นแบบทดสอบที่ได้จากการวิเคราะห์เนื้อหาอย่างละเอียดและมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาสูง
2. แบบทดสอบแยกออกเป็นฉบับย่อย ๆ หลายฉบับ โดยแต่ละฉบับวัดเนื้อหาย่อยอย่างเดียวกัน
3. ข้อสอบแต่ละข้อสาสมรถระบุสาเหตุของข้อบกพร่องของการตอบผิดได้
4. ข้อสอบแต่ละฉบับควรมีมากข้อและมีความยากตั้งแต่ .65 ขึ้นไป
5. เกณฑ์แสดงความรอบรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควรใช้เกณฑ์ 3 ใน 4 (75% )เพื่อแสดงว่าเด็กมีความรู้ในเรื่องนั้นจริง มิใช่ทำผิดเพราะความเลินเล่อ
6. เกณฑ์ปกติ ( norm ) ไม่มีความสำคัญ
7. ควรเป็นข้อสอบที่ไม่จำกัดเวลาในการสอบ( power test)
8. ใช้สอบเมื่อเรียนแต่ละบทเสร็จสิ้นแล้ว หรือใช้สอบเมื่อเรียนจบเนื้อหาย่อยเพื่อทดสอบความเข้าใจการตรวจให้คะแนนสามารถประเมินผลได้ทั้งแบบอิงเกณฑ์และอิงกลุ่ม

ธีรารัตน์ นาชัยฤทธิ์ (2550 : 21)
..........ลักษณะที่สำคัญของแบบทดสอบวินิจฉัย มีดังนี้
1. วัดได้ทั้งแบบอิงเกณฑ์ และแบบอิงกลุ่ม
2. เกณฑ์ปกติ (Norm) ไม่มีความสำคัญ
3. เน้นความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) เป็นหลัก
4. เป็นข้อสอบที่ง่ายและมีข้อสอบจำนวนมากข้อ
5. แยกเป็นแบบทดสอบย่อย ๆ หลายฉบับ เพื่อวัดทักษะเฉพาะอย่าง
6. ควรเป็นข้อสอบที่ไม่จำกัดเวลาในการตอบ (Power test )
7. ใช้กับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำและชี้ให้เห็นจุดบกพร่องของนักเรียนเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน

สุชาติ สิริมีนนันท์ (2542:12)
..........ลักษณะที่สำคัญของแบบทดสอบวินิจฉัย มีดังนี้
1. เน้นความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)
2. สร้างจากหลักรากฐานการวิเคราะห์ทักษะและข้อบกพร่องที่มักเกิดขึ้นกับนักเรียน
3. ข้อสอบแต่ละข้อได้มาจากการรวบรวมและวิเคราะห์จากคำตอบที่มีปัญหาของนักเรียนส่วนใหญ่ จึงสามารถบ่งบอกสาเหตุของการตอบผิดได้
4. แยกเป็นแบบทดสอบย่อย ๆ หลายฉบับ แต่ละฉบับวัดทักษะเฉพาะอย่าง
5. ในแต่ละฉบับย่อยจะมีข้อสอบมากข้อซึ่งวัดในทักษะเดียวกัน เพื่อให้สามารถจำแนกนักเรียนที่มีความบกพร่องได้ชัดเจน
6. เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างง่าย มีค่าความยากตั้งแต่ .65 ขึ้นไป มักใช้กับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
7. ใช้ทดสอบระหว่างการเรียนการสอน
8. มีลักษณะเป็นแบบทดสอบระดมพลัง( Power Test )
9. การให้คะแนนแยกเป็นด้าน ๆ เพื่อค้นหาข้อบกพร่อง และไม่สนใจคะแนนรวมของนักเรียนแต่ละคน
10. ไม่มีการสร้างเกณฑ์ปกติ เพราะจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาความบกพร่องในการเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคล

สุพรรณี ภิรมย์ภักดี (2541:11)

1 ความคิดเห็น: